การเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย หมู่ 4 ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

SDGs 8งานวิจัย
ผู้อ่าน 657 คน
ผู้วิจัย
แก้วมณี อุทิรัมย์
หน่วยงาน
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์การวิจัย
  • เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม
  • เพื่อศึกษาสินค้าและมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  • เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตาบลโพธิ์ชัย อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เพื่อศึกษาสินค้าและมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตาบลโพธิ์ชัย อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตาบลโพธิ์ชัย อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ชัย ตาบลโพธิ์ชัย อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จานวน 14 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอย่างชัดเจน และมีความต้องการในการพัฒนาอาชีพของตนเองอย่างชัดเจน โดยใช้โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริบทชุมชน การประกอบอาชีพ การสร้างการมีส่วนร่วม และกระบวนการดาเนินงานร่วมกันระหว่างทีมนักวิจัยและชุมชน

ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตาบลโพธิ์ชัย อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า จากการสารวจข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ชัย ตาบลโพธิ์ชัย อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีจานวนสมาชิกทั้งหมด 14 คน ทางกลุ่มแม่บ้านเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า โดยมีการจัดตารางเวรในการดูแลเห็ด ชุมชนประสบปัญหาของสินค้า คือ เห็ดนางฟ้ามีราคาค่อยข้างต่า หรือการนาไปขายที่ตลาดในจานวนมากๆ กลับโดนพ่อค้าคนกลางในการกดราคาให้กิโลกรัมละ 40 บาท การศึกษาสินค้าและมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ทางชุมชนจึงมีความต้องการนาเห็ดนางฟ้ามาเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้นกว่าการขายเห็ดสด ลดปัญหาพ่อค้าคนกลางได้ระดับหนึ่ง การศึกษาการเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตาบลโพธิ์ชัย อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สรุปได้ว่า สินค้าที่ต้องการนามาทาการเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของบ้านโพธิ์ชัย คือ เห็ดนางฟ้าชุมชนหาแนวทางในการค้นหากระบวนเพิ่มมูลค่าสินค้าร่วมกัน โดยใช้วิธีการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มแม่บ้านว่าต้องการเพิ่มมูลค่าของเห็ดนางฟ้า คือกระบวนการแปรรูปที่ชุมชนเห็นตรงกันว่า สามารถร่วมกันทาได้และเป็นมติของกลุ่มแม่บ้านเพาะเห็ดคือ การทาลูกชิ้น การทาหมูยอ และการทาแหนมเห็ด ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ หรือสามารถเก็บไว้ทานได้นาน สามารถทาแล้วนามาขายได้ตามร้านค้า และตามเทศกาลที่ทางจังหวัดจัดกิจกรรมขึ้นมา ผลจากกระบวนการทดลองปฏิบัติการโดยการใช้วิธีที่ค้นพบมาเพิ่มมูลค่าสินค้ากลุ่มเพาะเห็ดของชุมชน สิ่งที่ได้มา คือ แหนมเห็ด และลูกชิ้น ที่ได้ บรรจุในถุงพลาสติกใส เพื่อทาการขายในราคาถุงละ 20 บาท บรรจุด้วยแหนมเห็ดจานวน 4 ชิ้น ถึงใส่ถุงพลาสติกใส พบว่า ยังขาดความสวยงาม ไม่น่าดึงดูด ทางคณะผู้วิจัยได้ ติดต่อ อาจารย์ชินานาง ในสาชาวิชาศิลปะ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ทาการออกแบบสติ๊กเกอร์เพื่อนามาติดบรรจุภัณฑ์ เพื่อความสวยงามและน่าสนใจของสินค้ามากยิ่งขึ้น ผลที่ได้คือ สินค้ามีความน่าเชื่อถือ และสินค้าสามารถจาหน่ายได้ง่าย และตรงตามความต้องการของคนในชุมชน เช่น อบต. และร้านค้าชุมชน

ดาวน์โหลด

เมนู