รูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตำเปียงทรงเครื่อง” เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

SDGs 1งานวิจัย
ผู้อ่าน 338 คน
ผู้วิจัย
*อุทิศ ทาหอม **สาราญ ธุระตา ***ชุลีพร บุ้งทอง ****คเนศ วงษา
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์การวิจัย
  • เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตาเปียงทรงเครื่อง”ของชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
  • เพื่อค้นหารูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตาเปียงทรงเครื่อง” เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตาเปียงทรงเครื่อง” ของชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อค้นหารูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตาเปียงทรงเครื่อง” เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม จัดเวทีระดมสมองและพัฒนาศักยภาพ เป็นต้น ผลการศึกษา พบว่า อาหารพื้นถิ่น “ตาเปียงทรงเครื่อง (หน่อไม้ทรงเครื่อง)” มีการผลิตสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน จนนาไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ผ่านการวิเคราะห์องค์ความรู้จากภายในชุมชนและภายนอกชุมชน จนนาไปสู่การสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตาเปียงทรงเครื่อง” โดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคาช่องทางการจัดจำหน่าย และส่งเสริมการขาย ตลอดจนการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับพื้นที่ในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ต่อไป

เรื่องอื่นๆ

เมนู