กระบวนการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดจิตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน

SDGs 4งานวิจัย
ผู้อ่าน 320 คน
ผู้วิจัย
เทพพร โลมารักษ์ , บัญชา นวนสาย
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์การวิจัย
  • เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจกระบวนการการจัดการเรียนรู้บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาระบบ พี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน ก่อนการอบรมและหลังการอบรม
  • เพื่อประเมินและติดตามผลการพัฒนาครูในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการพัฒนาครูในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน 2) ประเมินและติดตามผล การพัฒนาครูในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในเครือข่ายฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 3 ที่ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 2 จํานวน 40 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจกระบวนการการจัดการ เรียนรู้บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 30 ข้อ และแบบประเมินสมรรถนะการสอนโดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการ ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test for dependent sample และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อ ประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ผลการวิจัยพบว่า

1. คะแนนเฉลี่ยการทดสอบความรู้ความเข้าใจกระบวนการการจัดการเรียนรู้บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญา ศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ครูมีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้โดยครูสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐานในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้านการกําหนดจุดประสงค์ ด้านการออกแบบการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมิน และด้านการใช้สื่อ/แหล่ง เรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด

เรื่องอื่นๆ

เมนู