การฟื้นฟูอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

SDGs 2งานวิจัย
ผู้อ่าน 294 คน
ผู้วิจัย
ธิดารัตน์ คีมกระโทก , ศุทธา โกติรัมย์
หน่วยงาน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์การวิจัย
  • เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นบ้านสนวน ต.สนวน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์
  • เพื่อฟื้นฟูอาหารท้องถิ่นบ้านสนวน ต.สนวน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ได้อย่างเหมาะสม
บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นบ้านสนวนนอก ตาบลสนวน อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ และดาเนินการฟื้นฟูอาหารท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม จัดเวทีประชาคม สารวจชุมชน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้านผู้สูงอายุ และกลุ่มแม่บ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนโบราณบ้านสนวนนอก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักตรรกะเทียบเคียงแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควบคู่บริบท โดยใช้สถิติประกอบ

ผลการวิจัย พบ อาหารประจาท้องถิ่นประเภทคาว 33 ชนิด ได้แก่ แกง ต้ม หมก ทอด น้าจิ้มและขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น แกงกล้วยใส่ไก่บ้าน แกงมะละกอใส่ปูนา แกงขี้เหล็กใส่กะทิ น้าพริกกะทิพร้อมผักสด ต้มไก่บ้านใส่ยอดหม่อน แกงมะรุม และมีขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เช่น ขนมต้มด่าง ขนมตดหมา เป็นต้น อาหารเกือบทุกชนิดมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมด มีการนามาจัดระบบ และจัดเวทีประชาคมเพื่อกาหนดอาหารประจาท้องถิ่นและเลือกแนวทางการฟื้นฟูอาหารท้องถิ่น ประชาคมเลือกการประกวดทาอาหาร เมนูที่ประกวด ได้แก่ แกงกล้วยใส่ไก่บ้าน ขนมตดหมา ข้าวต้มเขมรและขนมต้มด่าง ควรมีการพัฒนาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพและฟื้นฟูอาหารท้องถิ่นในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้การฟื้นฟูอาหารท้องถิ่นเกิดความสาเร็จเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด

เรื่องอื่นๆ

เมนู